งานย่าโม' 53

วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553








โรคเพลี้ยแป้ง

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553



เพลี้ยแป้ง (Mealy bug) เป็นแมลงปากดูด จัดอยู่ในวงศ์ Pseudococcidae อันดับ Homoptera แต่นักอนุกรมวิธานบางกลุ่มได้จัดอยู่ในอันดับ Hemiptera แมลงวงศ์นี้มีลักษณะพิเศษคือ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเพศเมียสามารถผลิตไขแป้ง (mealy wax) สีขาวปกคลุมลำตัวไว้ และสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบใช้เพศและแบบไม่ใช้เพศ


เพลี้ยแป้งที่เข้าทำลายต้นหม่อน Mealy bug (Maconellicoccus hirsutus Green) เพลี้ยแป้งชบา (Hibiscus mealybug) เป็นเพลี้ยแป้งชนิดเดียวกันกับที่ทำลายต้นชบา ซึ่งจัดเป็นแมลงปากดูดรูปร่างกลมคล้ายรูปไข่ ตัวเต็มวัยจะขับสารคล้ายแป้งสีขาวออกมาปกคลุมตัวเมื่อเจริญเต็มวัยตัวเมียไม่มีปีกจะวางไข่มีขนาด 0.15 - 0.30 มิลลิเมตร ประมาณ 200 -400 ฟอง หลังจากวางไข่ 2 - 5 วัน จะออกแยกย้ายดูดน้ำเลี้ยงตามยอดหม่อน เพศเมียจะใช้ระยะเวลาการเจริญเติบโตเพียง 22 - 29 วัน ส่วนเพศผู้ใช้เวลาเพียง 16 - 22 วัน รวมชีพจักรของแมลงชนิดนี้ประมาณ 29 - 36 วันการระบาดและการทำลายของเพลี้ยแป้ง ในช่วงฤดูฝนพบว่า เพลี้ยแป้งมีการระบาดน้อยกว่า จนไม่มีผลต่อแปลงหม่อน แต่ในฤดูแล้งโดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ กับเดือนกรกฎาคม เพลี้ยแป้งจะขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องมีการผสมพันธุ์ (asexual reproduction) เพลี้ยแป้งจะดูดน้ำเลี้ยงบริเวณยอด ตา ใบ และโคนใบ ทำให้ใบหม่อนหดและหงิกกลายเป็นปม การมีใบหดและหงิกงอนั้นเพื่อหลบศัตรูธรรมชาติ เช่น ด้วงเต่าลาย หม่อนจะแสดงอาการใบถี่ หักง่าย ยอดหัก และจะแตกออกเป็นกระจุก ผลผลิตของหม่อนจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด การแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งจะมีมดดำเป็นพาหะ โดยมีผลประโยชน์จากน้ำหวานของเพลี้ยแป้งถ่ายออกมาเป็นอาหารให้
การป้องกันและกำจัด
1. ในช่วงที่เกิดเพลี้ยระบาด ถ้าพบส่วนที่หงิกงอซึ่งเกิดจากการทำลายของเพลี้ยแป้งต้องตัดมาเผาทำลายเสีย เพื่อป้องกันการขยายพันธุ์และแพร่พันธุ์ระบาดไปยังแหล่งอื่น
2. กำจัดมดในแปลงหม่อน
3. ใช้สารเคมีฉีดพ่น แต่ควรระมัดระวังสารพิษตกค้างในใบหม่อน



บุคลลากร



(คลิกที่รูปเพื่อขยาย)



การประกวดเส้นไหม, ผ้าไหม, สิ่งประดิษฐ์, และผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม

ขอเชิญชวนนักเรียนนักศึกษา,บุคคลทั่วไปร่วมประกวดเส้นไหม,ผ้าไหม, สิ่งประดิษฐ์,และผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม ปี 2553ด้วยสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีหม่อนไหม กรมหม่อนไหม จะดำเนินการจัดประกวดเส้นไหม ผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน สิ่งประดิษฐ์จากรังไหมและผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม ปี 2553 ทั้งในระดับเยาวชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ จำนวน 35 ประเภท รายละเอียดเพิ่มเติมตามลิงค์ข้างล่างค่ะhttp://www.itqthaisilk.com/qthaisilk/view_updatenews.php?aid=57