ผ้าหางกระรอก

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553




ผ้าหางกระรอก ผ้าที่นำมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ประจำจังหวัดนครราชสีมา ที่มีความประณีตสวยงามเป็นที่รู้จักกันดีมาแต่โบราณ จนเป็นที่รู้จักของคน โคราชและคนทั่วไป คือ ผ้าหางกระรอก

ผ้าหางกระรอกเป็นผ้าพื้น ที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งน่าจะเรียกชื่อตามผิวสัมผัส เพราะลายที่ปรากฎบน เนื้อผ้า เป็นเส้นฝอยฟู มองดูเหมือนขนอ่อน ๆ เหลือบระยับ คล้ายกับขนของหางกระรอกแลดูสวยงาม แปลกตา

วัสดุที่ใช้สำหรับทอผ้าหางกระรอก ได้แก่ เส้นใยไหมหรือเส้นใยฝ้าย
ผ้าหางกระรอกที่ทอด้วยไหม เนื้อผ้ามีลักษณะละเอียด เย็นเป็นเงามีสีเหลือบ ถ้าทอด้วยพิม ๒ ตะกอ สีของผ้าจะมีสีเดียวกันทั้ง ๒ ด้าน แต่ถ้าทอด้วยพิม ๓ ตะกอ สีของผ้าด้านหนึ่งจะมี สีอ่อน สามารถเลือกใช้สีเข้มหรืออ่อนได้ตามความต้องการ ถ้าใช้เส้นใยฝ้าย เนื้อผ้าจะไม่ละเอียดเป็นเงาลายฝอยฟูที่ปรากฎบนเนื้อผ้า แลดูไม่ละเอียดอ่อนเท่าลายผ้าที่ทอด้วยไหม

กรรมวิธีในการทอผ้าหางกระรอก ใช้วิธีการเดียวกับการทอผ้าพื้นทั่วไป ต่างกันตรงไหมที่ใช้ทำเส้น พุ่ง ต้องใช้ไหม๒ เส้น นำมาตีเกลียวหรือควบด้วยวิธีปั่น เส้นพุ่ง ๒ เส้นให้เป็นเส้นเดียวกัน เส้นหนึ่งจะ เป็นสีของไหมยืน อีกเส้นหนึ่งต้องเลือกสีให้ กลมกลืนเหลือบ จึงเรียกไหมนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ไหมลูกลาย นำไปพุ่งกับเส้นยืน ทอออกมาเป็นเนื้อผ้า แลดูเป็นเส้นฝอยฟูเหลือบ ระยับผ้าหางกระรอกแต่ละผืนยาว กว่าผ้านุ่งธรรมดา ๒ เท่า เพราะสมัยก่อนทอสำหรับใช้นุ่งโจงกระเบน

การประยุกต์ใช้ นอกจากใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น ใช้นุ่งโจงกระเบน ตัดเสื้อพระราชทาน ตัดเครื่อง แต่งกายสตรี ฯลฯ แล้วยังใช้เป็นผ้าในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น ผ้านุ่งบวชนาค ผ้าคลุมศพ ผ้าห่อบาตร คู่บ่าวสาวบางคนใช้สำหรับเป็นผ้าไหว้ เศษผ้าที่ เหลือนำไปประดิษฐเป็นพวงกุญแจ กระเป๋าถือ ผ้าปูโต๊ะ ผ้ารองจาน ฯลฯ

0 ความคิดเห็น: